สารอาหารหลัก
อาหารคือสิ่งที่เรากินกันอยู่ทุกวันเรียกว่าขาดไม่ได้ เมื่อกินเข้าไปแล้วก็จะถูกย่อยเพื่อดูดซึมเอาไปใช้เป็นประโยชน์กับร่างกาย นั่นคือสิ่งที่เราเรียกว่า "สารอาหาร" สารอาหารที่ร่างกายต้องการในปริมาณมากและสามารถให้พลังงานกับร่างกายได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันนั่นเอง
การรับประทานอาหารให้อร่อยเป็นความสุขอย่างหนึ่งในการใช้ชีวิตและสารอาหารทุกประเภทล้วนสำคัญต่อร่างกาย ดังนั้นถ้าเรารู้จัก Balance กินให้พอดี ชีวิตและสุขภาพของเราก็จะดีตามไปด้วยอย่างแน่นอน
คาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรต ได้มาจากอาหารกลุ่มข้าว แป้ง และน้ำตาล และนอกจากนี้ยังสามารถพบได้ใน ธัญพืช เผือก มัน ผัก ผลไม้ นม อีกด้วย เมื่อกินเข้าไปแล้วและถูกย่อยแล้วจะกลายเป็นน้ำตาลโมเลกุลเล็กๆ
ที่เรียกว่ากลูโคสที่ผ่านเข้าไปในเซลล์ของร่างกายแล้วเผาผลาญได้เเป็นพลังงานเพื่อใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งย่อยๆ ออกได้อีก 2 ประเภท
โปรตีน
โปรตีนเป็นส่วนประกอบสำคัญในร่างกาย ซึ่งมีมากเป็นอันดับสองรองจากน้ำ เมื่อกินโปรตีนเข้าไปแล้ว ร่างกายจะย่อยกลายเป็นกรดอะมิโน เอาไปใช้ในการสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างสารควบคุมการทำงานของร่างกาย เช่น ฮอร์โมน และเอนไซม์ รักษาดุลยภาพของสารต่างๆ ในร่างกาย
สร้างภูมิคุ้มกันโรค ให้พลังงานและความร้อน
ไขมัน
แม้ว่าจะถูกมองว่าเป็นสารอาหารที่ทำให้อ้วนเป็นหลัก เนื่องจากให้พลังงานสูง
แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่เหมาะสมก็เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
เพราะไขมันจำเป็นในการช่วยละลายวิตามิน เช่น A, D, E, K เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้
แต่ถ้าบริโภคไขมันมากเกินความต้องการของร่างกายจะถูกสะสมเป็นชั้นไขมันอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกาย
แหล่งของไขมันมีทั้งจากสัตว์และพืช ได้แก่ มันหมู มันปลา น้ำมันที่ได้จากพืชต่างๆ กะทิ และถั่วที่ให้น้ำมันได้
ซึ่งเมื่อย่อยแล้ว ก็จะถูกแยกย่อยออกเป็นไขมันประเภทต่างๆซึ่งไขมันที่น่าเป็นห่วงและก่อให้เกิดโรคตามมา
ที่เราควรทำความรู้จักกันเอาไว้ก็คือ ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์นั่นเอง
คอเลสเตอรอล
เป็นอีกคนไทยได้ยินคุ้นหู เพราะมักมากับโรคอย่าง คอเลสเตอรอลในเลือดสูงยังไงล่ะ คอเลสเตอรอลคือไขมันชนิดหนึ่งที่พบเฉพาะในเนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ แต่ไม่พบในพืช คอเลสเตอรอลเป็นไขมันที่มีความจำเป็นต่อร่างกายโดยเฉพาะในกระบวนการสร้างเซลล์ต่างๆ และมนุษย์ก็สามารถสร้างคอเลสเตอรอลขึ้นในร่างกายได้ แต่ถ้ามีมากเกินไปก็เกิดผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน
เพราะเมื่อมากเกินอาจไปเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงบางอย่างของหลอดเลือด ทำให้เกิดการตีบตันจนเลือดไหลเวียนไม่สะดวก ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ ดังนั้นจึงควรควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยการไม่บริโภคอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูงเกินเป็นประจำ งดการสูบบุหรี่/ดื่มแอลกอฮอล์ และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ